ส่วนใหญ่อาการกลืนลำบากเกิดจากความผิดปกติของสมอง แต่เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นกล้ามเนื้อต่าง ๆ ก็อ่อนแรงลง และส่งผลทำให้แรงในการกลืนลดลงสามารถทำให้เกิดอาการกลืนติด หรือ รู้สึกอาหารค้างในคอได้
ถ้าลองสังเกตดีดี เวลาที่เราเจ็บลิ้นเองก็ยังรู้สึกเหมือนมีอาหารค้างอยู่ในคอจนต้องหลืนซ้ำ ๆ หรือ กลืนน้ำตามเลย
อาหารค้างหลังการกลืนนี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดปอดอักเสบติดเชื้อจากการสำลักได้
ทำไมจึงมีอาหารค้างในคอ
ที่จริงตำแหน่งที่ค้างในคอ จะพบบ่อย 2 ตำแหน่ง คือ ที่บริเวณวาเลคคิวลา (เป็นส่วนที่อยู่ระหว่างโคนลิ้นกับฝาปิดกล่องเสียง) และ ตำแหน่งของพิริฟอร์ม ซึ่งก็คือ ตำแหน่งที่ก้างปลาชอบไปติดบ่อย ๆ
ปกติเวลาที่กลืน อาหารจะไปค้างอยู่ที่บริเวณวาเลคคิวลาก่อนเพื่อเข้าสู่กระบวนการกลืนต่อไป เอ่อออ!!! อย่าคิดว่าค้างนานมากนะคะ เพราะปกติการกลืนเกิดขึ้นแค่ช่วง 1-2 วินาทีเท่านั้น ดังนั้นคือค้างแป๊บเดียว พอกลืนอาหารก็จะลงไปได้หมด ไม่เหลือค้าง
แต่ถ้า
กล้ามเนื้อลิ้นอ่อนแรง ช่วงกลืนโคนลิ้นไม่สามารถไปแตะกับคอหอยด้านหลังได้
การยกตัวของกล่องเสียงลดลง อันนี้คือให้สังเกตจากว่าปกติเวลากลืน เราจะเห็นลูกกระเดือกขยับ เกิดจากมีการยกตัวของกล่องเสียง ถ้าไม่ขยับ หรือ ขยับน้อย ก็จะส่งผลให้กลืนติด มีอาหารค้าง
มีวิธีการจัดการอย่างไร
ถ้ากลืนติดให้ดื่มน้ำตาม (liquid wash) หรือกลืนเค้นให้แรงขึ้น (effortful swallow)
การก้มคอเวลากลืนจะช่วยลดอาหารค้างที่วาเลคคิวลาได้
บริหารเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลิ้น https://youtu.be/b9u1QA_43AA และ กล้ามเนื้อใต้คาง https://youtu.be/kLWbOnxoe-8ค่ะ
หากเกิดจากมวลกล้ามเนื้อน้อยในผู้สูงอายุก็ต้องดูแลเรื่องอาหารให้ได้เพียงพอกับความต้องการ โดยเฉพาะ โปรตีนค่ะ