ถ้าพูดถึงผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่ที่เรามักเป็นกังวลกันคือ การพลัดตกหกล้ม แต่วันนี้เราจะมาพูดถึงอีก 1 กลุ่มอาการที่สำคัญในผู้สูงอายุ
“ภาวะกลืนลำบากจากมวลกล้ามเนื้อน้อย” หรือ “sarcopenic dysphagia” ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดจากมวลกล้ามเนื้อน้อยลงทำให้กล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการกลืนอ่อนแรง โดยเฉพาะ ลิ้น กับ กล้ามเนื้อใต้คาง ส่งผลให้เกิดภาวะกลืนลำบากได้
Japanese Association of Dysphagia Rehabilitation ได้กำหนดเกณฑ์สำหรับวินิจฉัย ไว้โดยพิจารณาจาก
- มีภาวะกลืนลำบาก
- มีภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย (sarcopenia)
- มีผลภาพถ่าย เช่น CT, MRI หรือ ultrasound ที่บ่งบอกว่ามวลกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการกลืนลดลง
- ไม่มีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดภาวะกลืนลำบาก
- ถ้ามีภาวะอื่นร่วมด้วย เช่น โรคหลอดเลือดสมอง มะเร็ง เป็นต้น ต้องมีภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยเป็นสาเหตุหลัก
โดยถ้ามีข้อ 1-4 จะบอกได้ว่า เป็น definite sarcopenic dysphagia
ถ้ามี ข้อ 1,2,4 เป็น probable sarcopenic dysphagia
ถ้ามี ข้อ 1,2,5 เป็น possible sarcopenic dysphagia
หรือ อาจพิจารณาจาก algorithm ตามรูป
ซึ่งหากพบมีปัญหาการกลืนก็ส่งผลให้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ และเกิดมวลกล้ามเนื้อน้อยอีก ดังนั้นจึงควรมีการออกกำลังกายและเสริมโภชนาการให้เพียงพอดังนี้
✅ ออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของลิ้น
โดยอาจใช้ลิ้นดันที่เพดานปากให้แรงที่สุดเท่าที่ทำได้ค้างไว้ประมาณ 10 วินาที แล้วพัก 10 วินาที ทำซ้ำ 5 ครั้ง/รอบ วันละ 2 รอบ
✅ ควรได้รับสารอาหารเพียงพอ
พลังงาน อย่างน้อย 30 kcal/kg/day และ โปรตีน 1.2 g/kg/day (ทั้งนี้ควรพิจารณาสภาวะของผู้สูงอายุอีกครั้งว่ามีข้อห้ามข้อควรระวังหรือไม่)
✅ นอกจากนี้ควรออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนและ